วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์สวอต

แผนภูมิอธิบายการวิเคราะห์แบบSWOT
การวิเคราะห์สวอต (อังกฤษ: SWOT Analysis) หรือในชื่อไทยชื่ออื่นเช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร
เทคนิคนี้ อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มแนวคิดนี้โดยนำเทคนิคนี้มาแสดงในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

 ความหมาย SWOT

คำว่า "สวอต" หรือ "SWOT" นั้นมาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่
  • S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด
  • W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
  • O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
  • T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง

 อ้างอิง

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

นิยามของโลจิสติกส์

โลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ
การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความ ต้องการของลูกค้า

โลจิสติกส์ (Logistics) หมายถึง การจัดลำเลียงสินค้าเพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการกระจายสินค้าต่ำที่ สุด โลจิสติกส์เกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบและไปสิ้นสุด ณ จุดที่มีการบริโภคสินค้านั้น หรือในอีกความหมายหนึ่ง โลจิสติกส์เป็นกระบวนการในการจัดการวางแผน จัดสายงานและควบคุมกิจกรรมทั้งในส่วนที่มีการเคลื่อนย้ายและไม่มีการเคลื่อน ย้ายในการอำนวยความสะดวกของกระบวนการไหลของสินค้า ตั้งแต่จุดเริ่มจัดหาวัตถุดิบไปถึงจุดที่มีการบริโภคโลจิสติกส์ ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน

โลจิสติกส์      หมายถึง การจัดการเคลื่อนย้ายของสินค้า บริการ ข้อมูล และการเงินระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
กิจกรรมหลัก (Key Activities) ได้แก่
- ระบบการขนส่ง (
Transportation)

- การบริหารสินค้าใน
stock ( Inventory Management)
- ขบวนการสั่งซื้อ (
Order Processing)
- การจัดการด้านข้อมูล (
Information Management)
- การจัดการด้านการเงิน (
Financial Management)
กิจกรรมสนับสนุน (
Supporting Activities) ได้แก่
- การบริหารคลังสินค้า (
Warehouse Management)

- การจัดการควบคุมวัสดุในการผลิต (
Material Handling)
- การจัดซื้อ (
Purchasing)
- การบรรจุหีบห่อ (
Packaging)
- การบริหารความต้องการของสินค้า (
Demand Management)                              
โลจิสติกส์สำคัญอย่างไร
    สหรัฐอเมริกา ประเทศยักษ์ใหญ่ทั้งด้านเศรษฐกิจ และการเมือง อาจจะกล่าวได้ว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก  ดูจากการเปลี่ยนแปลงของอเมริกาก็ว่าได้ สหรัฐอเริกามีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อย่างต่อเนือง และมีความก้าวหน้า  เป็นอย่างมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นการขับเคลื่อนโดยภาคธุรกิจเป็นหลัก เนื่องจากมีการแข่งขันอย่างรุนแรงในการลดต้นทุน  โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีการสร้างความร่วมมือกันในโซ่อุปทานโดยใช้การบริหาร  นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังมีความตื่นตัวในการจัดระบบฐานข้อมูลโลจิสติกส์เพื่อการวิเคราะห์ต้นทุนที่แท้จริง และที่ผ่านมาภาครัฐได้ออกกฎหมายควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี จากการพัฒนาดังกล่าว ทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของสหรัฐฯ ลดลงอย่างต่อเนือง (จากประมาณร้อยละ 16 ของ GDP ในปี 1981 ลงมาเหลือร้อยละ 9.5 ในปี 2001) และจากการลดต้นทุนดังกล่าวทำให้เกิดทฤษฎี  ประมาณว่าในระดับธุรกิจนั้น พบว่าหากบริษัทสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ร้อยละ 1 แล้วจะสามารถทำให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ และหากประเทศหนึ่งๆ สามารถลดต้นทุนการขนส่งร้อยละ 10 แล้วจะสามารถเพิ่มการค้ารวม (ภายในและส่งออก) ได้ถึง ร้อยละ 20  สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียบางประเทศนั้นจะสามารถเพิ่มมูลค่า GDP ได้ถึงร้อยละ 1.5-2.0 หากประเทศนั้น  สามารถ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ถึงร้อยละ 15-20
 
การส่งสินค้าและการจัดเก็บ
 1. ขอความร่วมมือจากซัพพลายเออร์ให้ส่งสินค้าเป็นแบบใส่พาเลทมากขึ้น ลองเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานดู หากขนถ่ายสินค้าที่ไม่บรรจุพาเลทต้องใช้พนักงาน 3 คนและใช้เวลาถึง 4 ชม. กับการขนสินค้าจำนวนเท่ากัน แต่การใส่พาเลทและใช้พนักงานคนเดียวทำเสร็จภายใน 30 นาที อย่างไหนจะคุ้มกว่ากัน ร้านค้าปลีกรายใหญ่บางแห่งจะกำหนดขนาดและแบบพาเลทให้ซ้อนกันได้ด้วย เพื่อไม่ต้องเสียเวลาขนถ่ายใหม่ คู่ค้ารายใดไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกปฏิเสธการรับสินค้า
2. วางแผนจัดเก็บสินค้าด้วยพาเลทให้เกิดประโยชน์สูงสุด บางครั้งอาจจำเป็นต้องจัดพาเลทในคลังสินค้าเพื่อจัดเก็บสินค้าที่เข้ามาจาก ตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่ใส่พาเลทด้วย ในกรณีนี้ อาจต้องหาโปรแกรมคำนวณการจัดพาเลทมาช่วยงาน เพียงใส่ตัวเลขขนาดคาร์ตัน เครื่องก็จะคำนวณรูปแบบการจัดวางที่มีประสิทธิภาพที่สุดออกมา แต่ต้องแจ้งพนักงานจัดพาเลทใช้ให้เหมาะกับงาน
3. จัดตั้งพาเลทแนวสูงหากคลังสินค้ามีพื้นที่พอ เพราะการวางสูงขึ้นไปจะทำให้ขนย้ายสินค้าได้มากชิ้นต่อครั้ง ช่วยลดจำนวนครั้งในการขนถ่ายลง แต่ต้องดูสมรรถนะของโฟล์กลิฟท์ที่ใช้ด้วยว่าไปกับความสูงได้
4. ขอให้ซัพพลายเออร์จัดสินค้ารายการเดียวกันอยู่รวมกัน เช่น สินค้าชนิดหนึ่งส่งมา 12 คาร์ตัน สินค้านั้นก็ควรจะอยู่ที่เดียวกันภายในคอนเทนเนอร์ ไม่ใช่อยู่ด้านหน้า 4 คาร์ตัน ตรงกลาง 4 คาร์ตันและที่เหลืออยู่ในสุดของตู้ บริษัทบางแห่งจัดพิมพ์คู่มือการขนถ่ายสินค้าให้กับซัพพลายเออร์ด้วย หากรายใดไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับ
5. ประสานงานกับ carrier ให้มาส่งของนอกเวลาพีคไทม์ พนักงานจะได้ขนของโดยไร้ความกดดัน และคนขับรถก็ไม่ต้องต่อคิวนาน หรือต้องขับไปจอดหลบตรงนั้นตรงนี้ระหว่างรอ ซึ่งอาจทำให้ถูกปรับเพราะเกิดความล่าช้าที่คาดไม่ถึง
                
 6. บริหารคำสั่งซื้อแบบรายสัปดาห์หรือตามช่วงพีคของฤดูกาลล่วงหน้า เมื่อจัดการแพ็คเรียบร้อยแล้วก็ส่งไปเก็บ ณ จุดเตรียมส่งได้เลย วิธีการนี้เรียกว่า pack-and-hold orders คือ เตรียมออร์เดอร์ล่วงหน้าแล้วรอไว้เตรียมส่ง วิธีนี้เหมาะกับออร์เดอร์มาตรฐานที่สามารถหยิบนอกเวลาพีคไทม์และเก็บไว้ที่ จุดเตรียมส่งจนถึงกำหนดวันส่ง สามารถใช้ trailer และพาเลท ณ จุดเตรียมส่ง เป็นที่เก็บออร์เดอร์ล่วงหน้าได้
7. ประสานงานกับซัพพลายเออร์ให้บรรจุสินค้าให้เสร็จก่อน (pre-packs) บริษัทที่ทำอย่างนี้คือบริษัทเสื้อผ้าที่มักสั่งให้ผู้ผลิตในต่างประเทศติด บาร์โค้ด อาทิ รุ่น สี หรือขนาด ให้เสร็จก่อนทำการบรรจุ เมื่อสินค้าที่สั่งมาถึงศูนย์กระจายสินค้า ก็สามารถสแกนแล้วติด label ใหม่ (เพื่อให้ตรงตามการจัดสรรพื้นที่และชั้นเก็บของที่เตรียมไว้ล่วงหน้า) และส่งต่อไปยังพื้นที่ส่งผ่าน (cross dock) ไปตามร้านค้าที่กำหนดได้เลย
8. ทบทวนเส้นทางของการหยิบเพื่อหาทางลดระยะทางในการทำงาน สินค้าที่ขายดีและเร็ว ควรจัดเก็บใกล้ประตูเข้าออกมากที่สุด เพื่อให้หยิบได้เร็ว ย้ายสินค้าที่พ้นฤดูกาลลึกเข้าไปข้างในแทน
9. เพิ่มชั้นเล็กเพื่อเก็บสินค้าที่มีรายการสินค้า (SKU) น้อย ปัจจุบันมีวิธีเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าด้วยการสั่งสินค้าเป็นกล่องแทน สั่งแบบเต็มพาเลท เพื่อให้สินค้าในคลังหมุนเวียนได้เร็ว การมีชั้นย่อยเพื่อเก็บสินค้าประเภทนี้ทำให้หาของได้ง่าย
10. สินค้าพวกลูกฟูกกินเนื้อที่ ไม่ควรสั่งมาเก็บให้เปลืองพื้นที่มีค่าในคลังสินค้า สินค้าประเภทนี้ควรสั่งเป็นแบบ just-in-time มากที่สุด
11.จัดการเคลียร์คลังสินค้าทุกจุดเป็นระยะๆ เพราะทิ้งไว้นานๆ คลังสินค้าจะรก กลายเป็นที่เก็บของไม่จำเป็น สิ้นเปลืองพื้นที่มีค่าโดยใช่เหตุ ควรย้ายของที่ไม่ใช้ประโยชน์ออกไป หรือคิดค่าเก็บค่ารักษาจากหน่วยงานภายในบริษัทด้วยหากมีการนำมาฝากเก็บ

      Report รุก-รับโลจิสติกส์ไทยใน AEC2015 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)

จากที่ผมได้ไปทำการเสวนาเรื่อง รุก-รับ โลจิสติกส์ไทยใน AEC 2015  ที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำให้ผมได้รับความรู้และมุมมองใหม่ๆ ในเรื่องโลจิสติกส์อย่างมาก   
ประเทศที่เข้าร่วม คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม สปป.ลาว พม่า กัมพูชา
ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการค้าและการขนส่งจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมหลายๆด้าน โดยมุ่งพัฒนาทุกๆด้าน
การเตรียมความพร้อมของกระทรวงคมนาคม  ได้มีการพัฒนาทางหลวงสายเอเชีย Asian Highwayประกอบด้วย 2 สายหลัก
                การพัฒนาโครงข่ายแนว N-S
1.โครงการทางหลวงแนวใหม่สายเชียงใหม่-ลำพูน (แนวเหนือ-ใต้) ระยะทางรวม 22 กิโลเมตร
2.โครงการทางหลวงแนวใหม่สายลำพูน-สันป่าตอง (แนวตะวันออก-ตะวันตก) ระยะทางรวม 18 กิโลเมตร
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี ระยะทาง 97 กม. เป็นทางหลวงพิเศษแนวใหม่ อยู่ระหว่างพิจารณาแหล่งทุนเพื่อดำเนินการก่อสร้าง
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย กาญจนบุรี-ชายแดนไทย/พม่า บ้านพุน้ำร้อน) ระยะทาง 70 กม. อยู่ระหว่างเสนอของบประมาณปี 2555 จะต้องเตรียมพื้นที่สำหรับเส้นทางรถไฟ รวมทั้งสายส่งไฟฟ้า ระบบท่อ และสิ่งอำนวยความสะดวกบนเส้นทางให้มีความเหมาะสมและสามารถเชื่อมต่อกับ Transborder Corridor ที่มาจากสหภาพพม่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบรถไฟและลานกองตู้สินค้าเส้นทางสายน้ำตก-ด่านเจดีย์สามองค์ ระยะทาง 135 กม. แต่ยังไม่มีการศึกษาเพื่อเชื่อมโยงทางรถไฟถึงบ้านพุน้ำร้อนเพื่อเชื่อมโยงกับพื้นที่อุตสาหกรรมทวาย
ทางอากาศ ภาคตะวันตกมี สนามบิน 4 แห่ง อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี 1 แห่ง คือ สนามบินสุรสีห์ อยู่ในจังหวัดราชบุรี 1 แห่ง คือ สนามบินโพธาราม และอยู่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2 แห่ง คือ สนามบินประจวบคีรีขันธ์ และท่าอากาศยานหัวหิน ซึ่งเป็นสนามบินแห่งเดียวในภาคตะวันตกที่ใช้ในเชิงพาณิชย์
กาญจนบุรี ยังไม่มีสนามบินที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ มีแต่สนามบิน พล..9 ในความรับผิดชอบของกองพลทหารราบที่ 9 ซึ่งใช้เพื่อภารกิจทางทหาร โดยมีศักยภาพที่จะปรับปรุงเพื่อใช้ในกิจการพาณิชย์ได้ สนามบินสุรสีห์ตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากตัวเมือง 30 กิโลเมตร
ลุยสร้างถนน-รถไฟเชื่อมทวาย4.5หมื่นล้าน
พล...สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่ากระทรวงฯมีแผนผลักดันระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อเชื่อมท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในพม่ามายังไทย ทั้งในส่วนของถนน และทางรถไฟ ในส่วนของรถไฟจะขยายแนวเส้นทางรถไฟ ปัจจุบันสิ้นสุดที่จ.กาญจนบุรี เชื่อมต่อไปยังชายแดนไทย-พม่า การสร้างท่าเรือน้ำลึกทวายต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง โดยวันที่ 7 ..นี้ ตนได้รับเชิญจากกระทรวงการคลัง ร่วมคณะเดินทางไปทวาย เพื่อดูความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือและนิคมฯทวาย
ชื่อนายวิทวัส     นามสกุล เขียวชอุ่ม     
ปัจจุบัน ศึกษาอยู่ มหาวิทยาลัย รัตนบัณฑิต  
ชั้นปีที่3 คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  
สาขา โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน